วิธีป้องกันมือถืออย่างไร? ไม่ให้โดนแฮ็ก! จากแอปดูดเงิน
สวัสดีค่ะวันนี้ไมโครลิสซิ่ง จะมาบอกมีวิธีป้องกันมือถืออย่างไร? ไม่ให้โดนแฮ็ก! จากแอปดูดเงิน พร้อมวิธีเช็กว่ามือถือถูกแฮ็กแล้วหรือไม่ ทั้ง Android และ IOS
1.ไม่ดาวโหลดแอปพลิเคชันนอก Store
ตอนนี้เมื่อคนเริ่มรู้แล้วว่าห้ามลงแอปนอก Google Play Store หรือสโตร์โหลดแอปที่น่าเชื่อถือ มิจฉาชีพจึงทำหน้าเว็บโหลดแอปปลอมให้ดูเป็นสโตร์ ดูน่าเชื่อถือขึ้น ทำให้ทุกๆคนต้องสังเกตมากขึ้น หากกดโหลดแล้วยังเห็นมีช่องลิงค์ URL เหมือนเว็บก็ต้องสงสัยแล้ว แล้วถ้าโหลดแล้วเครื่องขึ้นย้ำว่าต้องการติดตั้ง และเห็นมี “.APK” อยู่ในชื่อที่จะติดตั้ง อันนี้ชัดเลยว่าเป็นการติดตั้งแอปนอกสโตร์ เลี่ยงได้จะดีที่สุด
2.ไม่ดาวน์โหลดแอปที่ไม่น่าเชื่อถือ
แนะนำให้ดาวน์โหลดแอปพลิเคชันผ่านทาง Play Store และ IOS เท่านั้น แต่ก่อนที่ทาง Google จะตรวจสอบได้ครบทุกแอป ก็อาจทำให้มีบางแอปอันตรายหลุดรอดออกมาให้ผู้ใช้ดาวน์โหลดไปใช้งานกัน ซึ่งในกรณีนี้อาจต้องสังเกตบริษัทผู้พัฒนา, ยอดการดาวน์โหลด หรือช่องทางการติดต่อต่าง ๆ ว่าเป็นของจริงหรือไม่
3.หลีกเลี่ยงการเข้าเว็บไซต์ไม่น่าไว้ใจ/เว็บปลอม
แม้จะไม่ได้ดาวน์โหลดแอปแปลก ๆ ไม่ได้ดาวน์โหลดแอปนอก Store ทางการ (Play Store / App Store) เว็บไซต์ก็เป็นอีกช่องทางที่ง่ายต่อการแฮ็ก โดยมักจะมีการฝังมัลแวร์ไว้ เพียงกดโหลดหน้าเว็บก็อาจจะเป็นการดาวน์โหลดมัลแวร์เข้าเครื่องแล้วก็เป็นได้ ซึ่งวิธีป้องกันคือเลือกใช้เว็บบราวเซอร์ที่มีการอัปเดตระบบป้องกันความปลอดภัยอย่างสม่ำเสมอ เช่น Chrome, Firefox, Microsoft Edge, Safari ที่สำคัญคือตรวจสอบลิงก์ของเว็บไซต์นั้น ๆ ก่อนจะกดเข้าไป เพื่อป้องกันการโดนฟิชชิง (Phishing) ที่ถือเป็นเทคนิคอันดับต้น ๆ ที่มิจฉาชีพนำมาใช้ และค่อนข้างได้ผลดีด้วย จากการปลอมเป็นหน้าเว็บของหน่วยานราชการ หรือเว็บร้านค้าต่าง ๆ โดยใช้อุบายว่าจำเป็นต้องตั้งค่าบีญชีใหม่ หรือต้องยืนยันตัวตน และต้องกรอกข้อมูลส่วนตัวไป ซึ่งหน้าเว็บนั้นจะดักจับข้อมูลที่เรากรอกไปทุกอย่าง แน่นอนว่าหากไม่สังเกตให้ดี ข้อมูลของเราก็จะไปอยู่ในมือของมิจฉาชีพได้โดยง่าย รวมถึงการลงส่วนเสริม (Extensions) บนเว็บบราวน์เซอร์ ก็เป็นอีกหนึ่งจุดที่เสี่ยงต่อการโดนมัลแวร์ จึงควรเลือกส่วนเสริมที่ไว้ใจได้เท่านั้น
4.หลีกเลี่ยงการใช้ Wi-Fi ฟรีที่น่าสงสัย
แม้จะเป็นวิธีที่ทำได้ยาก แต่ก็เกิดขึ้นได้เช่นกัน หากเราเลือกต่อสัญญาณ Wi-Fi สาธารณะที่ไม่ใช่จากผู้ให้บริการสัญญาณโทรศัพท์ ก็อาจโดนดักจับข้อมูลต่าง ๆ ที่เราเข้าถึงเมื่อเชื่อมต่อสัญญาณดังกล่าวอยู่ และอาจนำไปสู่การสูญเสียข้อมูล หรือเงินได้ ทางที่ดีควรตรวจสอบ Wi-Fi ให้ดีก่อนการเชื่อมต่อทุกครั้ง
5.สายชาร์จดูดเงิน
แม้ว่าทางทฤษฎีก็สามารถทำได้จริง แต่เป็นไปได้ยากมาก เนื่องจากระบบปฏิบัติการบนมือถือเราทั้ง Android และ iOS มีระบบการป้องกัน (Protocal) ต่าง ๆ อยู่หลายชั้น จึงไม่ใช่เรื่องง่ายที่เพียงแค่เสียบสายชาร์จแล้วจะได้ข้อมูลส่วนตัวเราไปในทันที ทางที่ดีก็ควรเลือกใช้สายชาร์จของแท้ และไม่ยืมสายจากคนแปลกหน้าจะดีที่สุด
วิธีตรวจสอบว่ามือถือถูกแฮ็กแล้วหรือไม่ สำหรับระบบ Android
1.ไปที่ตั้งค่า
2.เลื่อนลงมาหาเมนูแอพ
3.กดที่จุด 3 จุด มุมขวาบนหน้าจอ
4.กดที่ การเข้าถึงพิเศษ
หากกดแล้วไม่ได้ไปหน้าเมนูดังกล่าว แต่ถูกเด้งไปที่หน้าจอหลักแสดงว่าตัวเครื่องโดนติดตั้งมัลแวร์บางอย่างเรียบร้อยแล้ว
เมื่อพบว่าถูกติดตั้งมัลแวร์ ควรปิดการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตทันที ทั้ง Wi-Fi และดาต้ามือถือ พร้อมทำการสำรองข้อมูล และตั้งค่าคืนเครื่องโรงงาน หรือล้างเครื่องใหม่นั่นเอง
วิธีตรวจสอบว่ามือถือถูกแฮ็กแล้วหรือไม่ สำหรับระบบ iOS
1.ไปที่ตั้งค่า > แบตเตอรี่ เพื่อตรวจสอบดูว่ามีแอปพลิเคชันไหนใช้งานมากเกินความเป็นจริงบ้าง
2.ตรวจสอบแอปพลิเคชันทั้งหมดในตัวเครื่อง ว่ามีแอปแปลก ๆ ปะปนมาโดยไม่รู้ตัวหรือไม่
br>
3.เพิ่มความปลอดภัยในการใช้งาน Safari
3.1ไปที่ตั้งค่า > Safari
3.2เลือกเปิดใช้งานฟังก์ชัน คำเตือนเว็บไซต์หลอกลวง
ขอขอบคุณข้อมูลจาก www.thaimobilecenter.com